How To Pre-Feasibility Study ด้วยตัวเอง

Last updated: 21 Jan 2020  |  5229 Views  | 

How To Pre-Feasibility Study ด้วยตัวเอง

How To Pre-Feasibility Study ด้วยตัวเอง


เทคนิคที่เราใช้กันในการทำ Pre-feasibility study สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการขายนั้นเราใช้เทคนิคที่เรียกว่า "Front Door/ Back Door Analysis"
   -   Front Door นั้นคือการทราบต้นทุนแล้วหาราคาขั้นต่ำที่เราจะ ต้องขาย ส่วน Back Door นั้นคือการที่เราทราบราคาขายตลาดแล้วดูงบไม่ให้เกินกี่บาท
   -   Front Door Analysis นั้น เราเริ่มต้นที่
ขนาดที่ดินที่เราจะพัฒนา สมมุติว่ามี 2 ไร่ ก็แปลว่าเรามี 2x 400 ตารางวา หรือ 800 ตารางวา หลังจากนั้นเราต้องทราบว่าทางผังเมืองอนุญาตให้เราพัฒนาได้กี่เท่าโดยการดูที่อัตรา FAR หรือ Floor to Area Ratio สมมุติได้ 10 เท่าก็แปลว่าเราสร้างได้มากที่สุด 32,000 ตารางเมตร (800 ตารางวา = 3,200 ตารางเมตร นำไปคูณ กับอัตรา FAR 10 เท่าจะได้พื้นที่ก่อสร้างสูงสุด)

****‼️ ตรงนี้ต้องระวังให้มากมาก ‼️**** เพราะว่าเราต้องดูกฎหมายควบคุมอาคารเพิ่มด้วยว่าแท้จริงเราสามารถที่จะสร้างได้เต็มที่ที่ 32,000 ตารางเมตรหรือไม่ และการที่เราจะดูนั้นเราต้องดูเรื่องระยะถอยร่น ฯลฯ ซึ่งอัตราร้อยละที่เราจะได้ก่อสร้างจริงเราเรียกว่า อัตราประสิทธิภาพของที่ดิน หรือ Land Efficiency หากได้ 100% ก็แปลว่าเราสร้างได้ 32,000 ตารางเมตร แต่ไม่ใช่ทุกขนาดที่ดิน และทุกทำเลจะทำให้เราสามารถสร้างได้เต็ม 100% สมมุติว่าเราสร้างได้เพียง 80% ก็แปลว่า Construction Area = 32,000 x 80% = 25,600 sq.m

   -   สมมุติว่าราคาที่ดินอยู่ที่ ตารางวาละ 500,000 บาท ราคาที่ดินโดยรวมเท่ากับ 400,000,000 บาท ขั้นต่อไปคือการกระจายต้นทุนที่ดินสู่พื้นที่ขาย (พื้นที่ก่อสร้าง 25,600 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ขาย เพราะฉะนั้นสมมุติว่าพื้นที่ขายเท่ากับ 60% ของพื้นที่ก่อสร้าง พื้นที่ขายจะเท่ากับ 15,360 ตารางเมตร) เพราะฉะนั้นต้นทุนที่ดินต่อพื้นที่ขายจะเท่ากับ 400,000,000 หารด้วย 15,360 ตารางเมตร เท่ากับประมาณ 26,042 บาท ต่อตารางเมตร ซึ่งเราจะคำนวณเช่นนี้กับค่าใช้จ่ายต่างๆต่อไปไม่ว่าจะเป็นค่าก่อสร้าง ค่า Mock Up ค่าบริหารจัดการ ต่างๆ สมมุติว่าได้ต้นทุนรวมเท่ากับ 200,000 บาทต่อตารางเมตรต่อพื้นที่ขาย (ซึ่งสูงพอควร) หลังจากนั้นเราต้องถามว่า Profit Margin ที่ต้องการเท่ากับเท่าใดซึ่งหากเท่ากับ 30% ของราคาขาย เราก็สามารถนำสูตร ราคาต้นทุนต่อตารางเมตรหารด้วย 1 - Profit Margin= 200,000/ (1-30%) = 200,000/ 70% = ประมาณ 280,000 - 290,000 ต่อตารางเมตร หลังจากนั้นก็เทียบตลาดว่าเขาขายราคานี้กันไหม แต่ให้เทียบกับอนาคตที่เราคาดว่าจะเป็นขาย Pre Sale


   -   จากตรงนี้เราจะเห็นได้ว่าจริงๆ ราคาที่ดิน 500,000 บาทต่อตารางวานั้นไม่ได้แพงเลยแต่เกิดจาก Land Efficiency ที่ได้แค่ 80%‼️ หากเราได้ที่ 100% เราจะได้ Construction Area ที่ 32,000 ตารางเมตร และ Salable Area 60% = 19,200 ตารางเมตร และหากนำต้นทุนประมาณที่ดินที่ 400,000,000 มาหารด้วย 19,200 ตารางเมตรจะได้ = 20,833 บาทต่างจาก 26,042 บาทประมาณ 25% หากบวกค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะขนาดเพิ่มขึ้นแต่หารด้วยตารางเมตรที่ขายได้มากขึ้น อาจจะทำให้ราคารวมต่ำกว่าตารางเมตรละ 200,000 บาทและเมื่อนำไปคิด profit margin อาจจะเป็นราคาที่แข่งขันได้ในตลาด

(หัวใจสำคัญ) - คือการเข้าใจกฎหมายทั้งหมดเพื่อมาออกแบบ Mass Model และคำนวณการเงินเพื่อให้ทราบว่าเราควรซื้อที่ดินที่ขนาดมากกว่านี้เพื่อให้ได้ Land Efficiency ที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือ ต้องซื้อราคาที่ดินที่ต่ำกว่านี้ ที่ผ่านมาลูกค้ามักจะไปซื้อที่ดินแล้วนำมาให้เราวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และผลคือเป็นไปได้ยากเพราะบางครั้งที่ดินที่ซื้อมาด้วยรูปร่างและทำเลเฉพาะของที่ดินเช่นติดทางแยกมีผลกระทบต่อการออกแบบอาคารและโครงการเป็นอย่างมาก

Best,
Asst. Prof. Jittaporn Issarangkoon Na Ayuttaya Sriboonjit

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy